วันจันทร์, 9 ธันวาคม 2567

ประวัติเจ้าคุณ พระพรหมบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติของ พระพรหมบัณฑิต ซึ่งเป็นอดีตอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกันดีกว่าค่ะ ว่าท่านผู้นี้มีประวัติและมีผลงานที่น่าสนใจมากเพียงใด เหตุใดจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                พระพรหมบัณฑิต ชื่อเดิมว่า นาย ประยูร มีฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ 2498 พื้นเพของท่านเป็นคนอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุได้ 11 ปี ได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณร และเนื่องด้วยความใฝ่รู้ของท่าน ท่านสามารถที่จะศึกษาภาษาบาลี จนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และในช่วงที่เป็นสามเณร ก็ได้รับการอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วย

                หลังจากนั้น ท่านได้มีการศึกษาในแนวทางของพระพุทธศาสนาเรื่อยมา และจบปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิตในสาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้ท่านจะได้รับปริญญาแล้ว ท่านก็ยังไม่หยุดการเรียนรู้ โดยเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดียอินเดีย และได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาปรัชญา ซึ่งวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านตีพิมพ์ในหัวข้ออนัตตาในปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่พูดถึงและมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง

                หลังจากที่ท่านเรียนจบปริญญาเอก ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นพระธรรมทูตประจำวัดธัมมารามที่สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2529 ก่อนจะกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีของบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก

                นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราชด้วย  ถือว่าได้ว่าประวัติการศึกษาและประวัติการทำงานของท่าน เป็นอีกหนึ่งบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

                ในส่วนของงานคณะสงฆ์ ท่านเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ และได้นิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและปรัชญามากกว่า 60 เล่ม รวมไปถึงการได้รับเชิญไปกล่าวบรรยายธรรม ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์เป็นประจำ อีกทั้ง ยังเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเสนอบทความทางวิชาการในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกด้วย

                ท่านไม่เพียงแค่การบรรยายธรรมเป็นภาษาไทยเท่านั้น แต่หลายๆครั้งท่านก็ได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในที่ประชุมนานาชาติทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศถึงความสามารถในเชิงวิชาการ และการอุทิศตนเพื่อสังคม

                และล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระสงฆ์ที่มีความสามารถ เป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวาง และทำงานในเรื่องของปรัชญามาโดยตลอด รวมถึงเป็นบุคคลสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง