วันจันทร์, 9 ธันวาคม 2567

ประวัติ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ประวัติ : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ – วัดอรัญญบรรพต ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

นามเดิม : เหรียญ ใจขาน

กำเนิด : เกิดวันที่ 8 มกราคม 2455 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด

สถานที่เกิด : ณ บ้านหม้อ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

บิดา : บิดาชื่อ ผา มารดาชื่อ พิมพา

อุปสมบท : บวชที่อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจารย์

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

จิตมีธรรมปรารถนาออกบวช

เมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี เห็นจะด้วยบุญบารมีแต่ปางก่อน รู้สึกว่าชีวิตปุถุชนไม่มีแก่นสาร จึงลาบิดามารดาเข้าเรียนครองบวชอยู่สิบห้าวันก็ได้บวชที่อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจารย์ บวชแล้วได้กลับมาอยู่ วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ บวชเมื่อ เดือนมกราคม 2475 อาจารย์วัดโพธิ์ชัย สอนให้ภาวนา อนุสสติ 10 ด้วยวิธีท่องเอา แล้วบริกรรมในใจว่า พุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ไปจนถึง อปสมานุสสติ จบแล้วตั้งต้นใหม่เรื่อยไป จิตสงบเบิกบานดี บริกรรมทุกอิริยาบถเป็นอารมณ์ติดต่อกันไป

ในระหว่างนั้นโยมบิดาได้นำหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนาของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม มาให้อ่าน ท่านอธิบายเรื่อง สติปัฏฐาน4 โดยเฉพาะเรื่องกายานุปัสสนา ให้พิจารณาร่างกายเพ่งดูแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตลอดจนอาการ 32 แล้วให้ถามตัวเองว่า ตัวตน อยู่ที่ไหน แท้จริงก็ไม่มี เมื่อไฟเผาแลัว ย่อมเหลือแต่เถ้ากระดูก

กำหนดเอากระดูกใส่ครกบดให้ละเอียดแล้วซัดไปตามลมพัดหายก็ไม่เหลืออะไร ร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นของตนสักอย่างเดียว มีแต่เกิดแล้วดับไปดังปรากฏ

แล้วใครเป็นผู้รู้ว่าร่างกายเป็นอย่างนั้น ก็จิตนี้เป็นผู้รู้ เมื่อสติกลับมา รู้จิต จิตก็รวมลงเป็นหนึ่ง แสดงว่า จิตปล่อยวางร่างกายได้ตามสภาพ จึงประคองจิตให้สงบอยู่ต่อไปนานเท่าที่จะอยู่นานได้ ในขณะนั้นจะมีความรู้สึกว่า กายก็เบา จิตก็เบา คิดจะไปอยู่ป่า พอดำริจะไปอยู่ป่าเท่านั้น มาร คือ กิเลส ก็แสดงอาการขัดขวาง เกิดความรู้สึกนึกคิดเป็นสองทาง ใจหนึ่งอยากสึกออกไปครองเรือน ใจหนึ่งอยากออกปฏิบัติเจริญสมถะวิปัสสนาตามที่ตั้งใจไว้ วันแล้ววันเล่ายังตัดสินใจไม่ได้ จึงลองอดข้าวหนึ่งวัน พอตกค่ำเวลาประมาณสามทุ่ม ก็ห่มผ้าสังฆาฎิแล้วทำวัตร อธิษฐานจิตว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อพิจารณาตัดสินใจลงทางใด ทางหนึ่งให้ได้ ถ้าตัดสินใจไม่ได้จะไม่ลุกออกจากที่นั่งนี้เลย ภายหลังได้ตัดสินใจประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป ได้พบพระอารย์กู่ ธมฺมทินฺโน บ้านเดิมท่านอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเที่ยวธุดงค์ไปทางหนองคาย พักอยู่ที่วัดเดียวกัน ได้รับคำอธิบายในอุบายภาวนาเพิ่มเติมจนเข้าใจดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้พบกับ ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม อยู่วัดสิริสาลวัน ได้พาบวชเป็นพระธรรมยุตที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี

พ.ศ. 2476 จำพรรษาวัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี

เป็นที่ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษา ได้ตั้งใจทำความเพียรสงบใจมาก แต่วิปัสสนายังไม่แกกล้า ได้แต่สมถะ ออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ไปจังหวัดเลย พักวิเวกอยู่ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง ได้ความสงบสงัดมาก

พ.ศ. 2477 พรรษาสอง จำพรรษาวัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย

มีพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นหัวหน้า ตั้งใจไม่นอนกลางวัน ค่ำลงทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถึงตีสอง แล้วลุกขึ้นทำความเพียรจนสว่าง พอถึงเดือนหกเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านค้อ ตามเิด

พ.ศ. 2478 พรรษาสาม จำพรรษาที่วัดป่าสาระวารี

พ.ศ. 2479-2480 พรรษาสี่และห้า จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต

ทำภาวนาจิตสงบแล้วพิจารณาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง จิตสงบพร้อมกับความรู้เป็นอย่างดี คล้ายหมดกิเเลส แต่ต่อมามีเรื่องต่างๆ มากระทบ ก็รู้สึกจิดผิดปกติ หวั่นไหวไป ตามอารมณ์นั้นๆ อยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง ก็แสดงว่ากิเลสยังไม่หมดสิ้น พยายามแก้ก็ไม่ตก นึกในใจว่าใครหนอจะช่วยแก้จิตให้ได้ จึงนึกไปถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงชวนภิกษุรูปหนึ่งลงเรือจากหลวงพระบางขึ้นไปทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินทางไปหาท่าน

พ.ศ. 2481 ได้พบท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเมตตาของหลวงตาเกต ซึ่งเป็นสัทธิ วิหาริก ของท่าน ได้พาไปพบที่ป่าละเมาะใกล้ๆ โรงเรียนแม่โจ้ อำเภอสันทราย ได้เห็นด้วยความอัศจรรย์ใจเพราะตรงกับในนิมิตทุกประการ ท่านได้แนะนำว่านักภาวนา พากันติดสุขจากสมาธิจึงไม่พิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตกัน

ท่านซักรูปเปรียญให้ฟังว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศแลย เขาทำใส่บนพี้นดินจึงได้ผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายควร พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูป ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละจึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว

เมื่อท่านให้โอวาทแล้วจึงพิจารณาดูตังเองว่าได้เจริญเพียงสมถะไม่ได้เจริญ วิปัสสนาเพียงรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ คือ อริยสัจสึ่ จึงเจริญวิปัสสนาเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ 6 อยู่ในเขตภาคเหนือจนถึงพรรษาที่ 16 แล้วเดินทางกลับธุดงค์ ผ่านหลวงพระบาง ประเทศลาว เข้าเวียงจันทน์ มายังหนองคาย

พรรษาที่ 19 ถึง 26 จำพรรษาเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติอยู่ภาคใต้ แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดอรัญญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เรื่อยมา

ธรรมโอวาท

1. นาทั่งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั่งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลอให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่ให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว
2. อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์กำพวงมาลีย มีสติคอยระมัดระวัง กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามใครมาติชมเรา ที่ว่าระวังนั้น คือ เมื่อมีเรื่องมากระทบให้รู้ทัน ในทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปไม่ได้ แต่ให้ระวัง ต้องควบคุมจิตด้วยสติให้ถี่ๆ กระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้ามา จะได้ไม่หวั่นไหวกับคำพูดเสียดแสงใจต่างๆ
3. ถ้าจิตสงบมีกำลังพักผ่อนเต็มที่แล้ว มันก็จะอยากรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ก็ต้องกำหนดพิจารณา เช่น กำหนดพิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เบื่อในทุกข์ของขันธ์5 อันไม่เที่ยงแปรปรวน อาการหวั่นไหวกันไปมานั่นแหละ เรียกว่า ทุกขลักษณะ เมื่อจิตรู้อย่างนี้ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดเอาของไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์

ปัจฉิมบท

พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระสงฆ์แห่งจังหวัดหนองคาย ที่มีอาวุโสที่ชาวพุทธควรกราบไหว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง