วันพฤหัสบดี, 9 พฤษภาคม 2567

ประวัติ หลวงปู่ชู คงชูนาม วัดนาคปรก

ประวัติ หลวงปู่ชู คงชูนาม วัดนาคปรก

สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดนาคปรกนั้น เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ถนนเทอดไทย ตำบลปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในช่วงรัตนกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีเนื้อที่วัดประมาณ 12 ไร่เศษ ผู้สร้างคือ เจ้าสัวพุก ชาวจีนพ่อค้าสำเภา ซึ่งตามพระยาโชฎึกราชเศษฐี เข้ามาทำมาค้าขายโดยจอดท่าเรือสำเภาไว้ที่คลองสานใกล้ๆ สุเหร่าแขก และต่อมาได้ภรรยาเป็นคนไทยเจ้าสัวพุกเป็นผู้มีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา มีศรัทธาแรงกล้าในการจะสร้างวัดขึ้น ณ ที่ใกล้วัดนางชีอันเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้ถวายการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สำหรับนามของวัดนี้ มาจากพระนามของพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 2 องค์

ซึ่งเป็นพระประธานประจำพระวิหาร พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก อันปรากฏในพระพุทธประวัติว่า เมื่อครั้งเสด็จนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก ได้บังเกิดฝนตกพรำอยู่ตลอด 7 วันในครั้งนั้นพญามุจลินท์นาคราช ออกจากนาคภพมาทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนเพื่อป้องกันลมและพายุฝนไม่ให้ซัดสาด มาต้องพระวรกายพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ เข้าใจว่าภรรยา ของเจ้าสัวพุกคงจะเกิดในวันนี้ นอกจากนั้นภาพจิตรกรรมภายในวิหารยังเป็นลายไทย ส่วนภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นลายจีน และท่านผู้สร้างก็เป็นผู้ที่มีปฏิสัมภิทาและบุคลาธิษฐาน ซึ่งหยิบยกสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบายสังเกต ได้จากการที่สร้างพระวิหารไว้ทางทิศเหนือ และพระอุโบสถไว้ทางทิศใต้ องค์พระหันไปทางทิศตะวันออก เปรียบเสมือนผู้หญิงอยู่ทางซ้าย ผู้ชายอยู่ทางขวาวัดนาคปรก

วัดนาคปรก มีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วหลายรูป แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เริ่มมาบันทึกเป็นทางการถึงปัจจุบัน รวม 5 รูปคือ

1.พระอธิการ คงชูนาม พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๗
2.พระอธิการเลี่ยม นนฺทิโย พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๕
3.พระอาจารย์อำนาจ นราสโภ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๒
4.พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี) พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๔๒
5.พระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน

สำหรับหลวงปู่ชู อดีตเจ้าอาวาส ที่เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เลื่องลือเมื่อประมาณ 80 กว่าปีก่อน ชาวบ้านในละแวกวัดรวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียง ต่างพากันกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านมาจนกระทั่งทุกวันนี้ สิ่งที่ยังคงเหลือเป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ วัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ อาทิ เหรียญรูปเหมือนและเหรียญหล่อเนื้อสำริดชาติภูมิของหลวงปู่ชูนั้น ตามประวัติบันทึกว่า บ้านเดิมท่านเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาชื่อ คง โยมมารดาไม่ทราบนาม โยมบิดามีอาชีพค้าขาย มีเรือโกลนล่องมาจากนครศรีธรรมราชมาค้าขายที่กรุงเทพฯ ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดธนบุรีในปี พ.ศ. 2412 ได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ อันเป็นสำนักสอนกัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น หลวงปู่ชูท่านได้ศึกษาทางด้านนี้

รวมทั้งจิตใจฝักใฝ่ในด้านพุทธาคมและไสยเวทมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม จึงมุ่งมั่นศึกษาวิชาต่างๆ แต่ละแขนงจนกระทั่งเชี่ยวชาญ ว่ากันว่า ท่านยังเป็นศิษย์เรียนวิชาจากสำนักวัดระฆังโฆสิตารามอีกด้วย ต่อมาท่านได้ลาสิกขาเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปศึกษาวิชาต่างๆ ท่านได้ไปขอศึกษาวิชากับ ท่านอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (วัดชีโพ้นในปัจจุบัน) จ.อยุธยา ซึ่งมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ได้ปรนนิบัติ และศึกษาวิชากับพระอาจารย์พลับจนหมดสิ้น จึงลาพระอาจารย์เดินทางขึ้นเหนือไปยังจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าท่านได้ไปศึกษาวิชากับพระอาจารย์รูปใด อีกทั้งการเดินทางไปของท่าน เป็นระยะเวลานานมากและยังขาดการติดต่อกับทางบ้าน บรรดาญาติพี่น้องพากันเข้าใจว่าท่านเสียชีวิตไปแล้ว พอท่านกลับมาเยี่ยมบ้าน ยังความปิติยินดีแก่ญาติพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง

โยมบิดามารดาจึงจัดหาตบแต่งภรรยาให้ท่าน อยู่กินกันจนมีบุตรธิดา รวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1หลังจากท่านแต่งงานมีครอบครัว ท่านก็ได้ใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรใบยาและเวทย์มนต์คาถาที่ได้ร่ำเรียนมา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน พากันเรียกท่านว่า พ่อหมอชูภายหลังท่านเกิดเบื่อหน่ายในโลกีย์วิสัย มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร จึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาคปรก จวบจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ.2477 รวมสิริอายุได้ 76 ปี

โดยมีพระเถระเป็นสักขีพยานหลายรูป รวมทั้งมัคนายกอีกทั้งสองนายซึ่งนั่งดูการพิจารณาพิพากษาในที่นั้นอยู่ด้วย เมื่อวางซองจดหมายแล้ว เขียนว่าอย่างไรบ้าง หลวงปู่ชูจึงนั่งหลับตาอยู่ราวอึดใจหนึ่ง จึงกราบเรียนท่านเจ้าคุณรวมทั้งสักขีพยานว่า “ในซองนั้นเขียนคำว่า สมภารชูให้หวย” พอฉีกซองออกมาดู ทั้งข้อความที่ปรากฏอยู่ เป็นไปดังที่หลวงปู่กล่าวทุกประการ หลังจากนั้นได้นิมนต์ให้กลับวัดหมดโทษหมดมลทินใดๆ เพราะท่านไม่ได้หลอกลวงใครดังกล่าวหา และต่อมาภายหลังท่านเจ้าคุณวัดอนงค์ได้มาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ชูที่วัดเสมอ จนถูกอัธยาศัยไมตรีกันตราบจนสิ้นชีวิต เรื่องหลวงปู่ชูให้หวยแม่นและเรื่องที่ท่านโดนท่านเจ้าคุณอนงค์เรียกไปสอบ กลายเป็นข่าวเลื่องลือไปทั่ว วันหนึ่งนักเลงจับยี่กีเดินโพยหวยชื่อ ตาแหวง บ้านอยู่หลังวัดปรก คิดจะทดลองความแม่นยำในการใบ้หวยของหลวงปู่

เพราะตนเพียงได้ยินเสียงเล่าลือจึงยังไม่เชื่อถือ ตาแหวงจึงขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่กุฏิแล้วแจ้งความประสงค์แบบซื่อๆ ด้วยใจนักเลงว่า “หลวงปู่ครับ เขาลือกันว่าหลวงปู่ให้หวยแม่น ถ้าเป็นจริงดังคำเล่าลือ ขอได้โปรดเมตตาสงเคราะห์กระผมบ้าง กระผมอยากได้เลขจากหลวงปู่ เพียงตัวเดียวเท่านั้นแหละครับ”หลวงปู่ได้ฟังแล้วก็ยิ้มอย่างมีเมตตา นิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่งจึงตอบไปว่า “แหวงเอ๊ย แกเป็นคนไม่มีโชคด้านนี้ ข้าให้ไปแกก็เอาไม่ได้ อย่าเล่นเลยดีกว่าเชื่อข้าเถอะ” ตาแหวงได้ยินก็สงสัยเพราะเท่าที่รู้มาใครขอท่านมักจะไม่ขัด จึงอ้อนวอนขอท่านอีกครั้งว่า “หลวงปู่ให้มาเถิดครับ ถึงรู้ว่าผมไม่มีโชค ถ้าให้แล้วไม่มีโชคจริงละก็ จะเลิกการพนันตลอดชีวิตเลยครับ”หลวงปู่ท่านจึงถามย้ำอีกครั้งว่า จะเลิกเล่นตลอดชีวิตจริงอย่างที่ว่าหรือไม่ ตาแหวงก็ยืนยันแข็งแรง

หลวงปู่ถึงถามว่า เลขตัวเดียวได้กี่บาท ตาแหวงก็แจกแจงบอกกติกาการเล่นให้ท่านทราบโดยละเอียด ท่านจึงบอกว่า “เลขตัวเดียวรวยช้า เอาไป 3 ตัวตรงๆ ไม่มีการสลับตำแหน่ง เงินมีเท่าไหร่ซื้อให้หมด” พูดจบท่านก็เขียนตัวเลข 3 ตัวใส่ระดาษส่งให้ตาแหวงไปตาแหวงเอง เมื่อได้เลขจากหลวงปู่แล้วก็นั่งฝันความเป็นเศรษฐีของตนในวันพรุ่งนี้ พอถึงวันหวยออก ก็เดินหาซื้อเลขดังกล่าว แต่วันนั้นเกิดเต็มไม่สามารถซื้อได้ทั้งที่ตนเป็นเจ้ามือวิ่งโพยเอง จึงรีบไปซื้อที่อื่นเขาก็ว่าตำรวจกวนวันนี้งดขาย ตามอยู่หลายเจ้าก็ไม่มาสารถซื้อเลขที่หลวงปู่ให้มาได้เลย จนกระทั่งถึงเวลาหวยออกตาแหวงก็ยังคงวิ่งหาซื้อเลขนี้อยู่ ถึงตอนประกาศรางวัลที่ 1 เลข 3 ตัวท้ายออกมาตรงกับที่หลวงปู่ให้ไม่ผิดเพี้ยนตาแหวงถึงกับเข่าอ่อนทรุดลงไปนั่งกอง กับท้องร่องสวนหมากหลังวัด

นึกถึงคำพูดของหลวงปู่ขึ้นมาได้ ก็วิ่งแจ้นไปยังกุฏิหลวงปู่ บอกท่านว่า “หลวงปู่ครับ ผมไม่มีโชคเหมือนที่หลวงปู่ว่า ต่อไปนี้ผมเลิกเล่นการพนันทุกชนิด หากผิดสัจจะก็ขอให้พบกับความวิบัติ และฝากตัวรับใช้หลวงปู่ตลอดไป”หลวงปู่ได้พูดปลอบใจตาแหวงว่า “วาสนาของเรามันเป็นอย่างนั้น อย่าเสียใจไปเลย เราไม่ได้สร้างกุศลเรื่องทางนี้มา จะเปรียบกับคนอื่นเขาไม่ได้ดอก พอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนเป็น ก็มีความสุขแล้วมิใช่หรือตาแหวง” จากนั้นมา ตาแหวงก็เป็นโยมรับใช้หลวงปู่จนชั่วชีวิตตามที่ได้ให้สัจจะไว้ทุกประการ