วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2567

“สวดภาณยักษ์” บทสวดสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมมงคลชีวิต

สวดภาณยักษ์ เป็นบทสวดโบราณที่คนไทยบางกลุ่มนิยมสวดและนิยมเข้าฟังการสวด เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปทำความรู้จักที่มา และความเชื่อเกี่ยวกับการสวดภาณยักษ์ให้มากขึ้น

สวดภาณยักษ์ คืออะไร?

สวดภาณยักษ์” หรือที่เรียกว่า สวดอาฏานาฏิยสูตร เป็นชื่อบทสวดที่มาจาก 2 คำรวมกัน ได้แก่ “ภาณ” หมายถึง การสวด, การบอกกล่าว และคำว่า “ยักษ์” หมายถึง อมนุษย์พวกหนึ่ง เมื่อรวมกันก็จะกลายเป็นบทสวดภาณยักษ์ ซึ่งคนไทยจำนวนหนึ่งนิยมสวดเพราะเชื่อว่าอานิสงส์ของการสวดภาณยักษ์ใหญ่จะช่วยป้องกันภัยและสิ่งชั่วร้าย อีกทั้งช่วยขับไล่ภูติผี วิญญาณไม่ดีให้ออกไปจากตัวผู้สวด ที่มาจากยักษ์ชั่วร้ายและอมนุษย์ที่ประสงค์ร้ายได้ โดยลักษณะการสวดจะเป็นทำนองสรภัญญะ บทสวดมีความยาว และมีจังหวะการสวดที่แตกต่างจากบทสวดแบบอื่นๆ

บทสวดภาณยักษ์ใหญ่ น่ากลัวจริงหรือไม่?

แม้ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการสวดภาณยักษ์ในประเทศไทย มีขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่ามีมานานหลายร้อยปี โดยได้รับอิทธิพลจากพระสงฆ์สายเถรวาท เริ่มแรกอาจเป็นการสวดเพื่ออำนวยชัยแก่พระเจ้าแผ่นดินประจำปี ในปัจจุบันการสวดแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การสวดในพิธีหลวงที่สำคัญๆ มักจะสวดในช่วงเทศกาลตรุษต่างๆ โดยเชื่อว่าเป็นการสวดเพื่อป้องกันอันตรายให้ประชาชน และการสวดในพิธีราษฎร์ที่ประชาชนนิยมจัดกันเองตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคล ป้องกันเสนียดจัญไร และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายไม่ให้มาเข้าใกล้

ทั้งนี้ บทสวดภาณยักษ์เป็นบทสวดที่ยาวมาก มีลักษณะเด่นตรงอยู่ที่จังหวะการสวด ซึ่งจะมีลักษณะเสียงที่ดุดันเกรี้ยวกราด กระแทกกระทั้นเสียง ทำให้หลายคนเรียกว่า “สวดภาณยักษ์ใหญ่” ตามความเชื่อที่ว่าอาณาเขตต่างๆ มักจะมีทั้งสิ่งมงคลและสิ่งชั่วร้าย

บางครั้งบ้านเมืองอาจเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นก็เพราะภูติผีและสิ่งชั่วร้าย รวมถึงยังมีความเชื่อทางพุทธศาสนาว่ายักษ์บางพวกก็มักจะมาเบียดเบียนพระพุทธศาสนา จึงต้องมีการสวดภาณยักษ์เพื่อให้ยักษ์เลื่อมใสและคุ้มครองพระพุทธศาสนา

ตามเรื่องเล่าในพุทธกาลเกี่ยวกับการสวดภาณยักษ์เชื่อว่า ผู้ที่ห้ามปรามยักษ์ที่มีมิจฉาทิฐิให้หันกลับมาเลื่อมใสในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือ “ท้าวเวสสุวรรณ” ทำให้ก่อนสวดหลายคนมักจะมีการกล่าวบทคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณก่อนเสมอ

การสวดภาณยักษ์ในลักษณะที่เสียงดัง ดุดัน จึงถือเป็นการสวดเพื่อขับไล่ผี ขับไล่ยักษ์ให้กลัว ไม่กล้ามากล้ำกรายในพื้นที่นั้นๆ โดยในอดีตจะมีการยิงปืนใหญ่ให้เสียงดังก่อนเริ่มสวดด้วย เพื่อทำให้สิ่งชั่วร้ายตกใจกลัวนั่นเอง แต่ในอีกนัยหนึ่งการสวดดังกล่าวก็ถือเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สวดนั่นเอง

บทสวดภาณยักษ์ใหญ่

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห
วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต ฯ อะถะโข จัตตาโร มะหาราชา
มะหะติยา จะ ยักขะเสนายะ มะหะติยา จะ คันธัพพะเสนายะ
มะหะติยา จะ กุมภัณฑะเสนายะ มะหะติยา จะ นาคะเสนายะ
จะตุททิสัง รักขัง ฐะเปตวา จะตุททิสัง คุมพัง ฐะเปตวา
จะตุททิสัง โอวะระณัง ฐะเปต๎วา อะภิกกันตายะ รัตติยา
อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง คิชฌะกูฏัง โอภาเสตวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิงสุ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง
อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เตปิ โข ยักขา อัปเปกัจเจ
ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ
ภะคะวะตา สัทธิง สัมโมทิงสุ สัมโมทะนียัง กะถัง สาราณียัง
วีติสาเรต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ เยนะ ภะคะวา
เตนัญชะลิมปะณาเมต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ
นามะโคตตัง สาเวต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ
ตุณหภูตา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เอกะมันตัง นิสินโน โข
เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวันตัง เอตะทะโวจะ สันติ หิ
ภันเต อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต
อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา
ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา ยักขา
ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต
อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา
เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะสันนาเยวะ ภะคะวะโต ฯ
ตัง กิสสะ เหตุ ฯ ภะคะวะตา หิ ภันเต ปาณาติปาตา เวระมะณิยา
ธัมมัง เทเสติ อะทินนาทานา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ กาเมสุ
มิจฉาจารา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ มุสาวาทา เวระมะณิยา
ธัมมัง เทเสติ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณิยา
ธัมมัง เทเสติ เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะฏิ-
วิระตาเยวะ ปาณาติปาตา อัปปะฏิวิระตา อะทินนาทานา
อัปปะฏิวิระตา กาเมสุ มิจฉาจารา อัปปะฏิวิระตา มุสาวาทา
อัปปะฏิวิระตา สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เตสันตัง โหติ
อัปปิยัง อะมะนาปัง สันติ หิ ภันเต ภะคะวะโต สาวะกา
อะรัญเญ วะนะปัตถานิ ปันตานิ เสนาสะนานิ ปะฏิเสวันติ
อัปปะสัททานิ อัปปะนิคโฆสานิ วิชะนะวาตานิ มะนุสสะราหะ-

เสยยะกานิ ปะฏิสัลลานะสารูปานิ ตัตถะ สันติ อุฬารา ยักขา
นิวาสิโน เย อิมัสมิง ภะคะวะโต ปาวะจะเน อัปปะสันนา
เตสัมปะสาทายะ อุคคัณหาตุ ภันเต ภะคะวา อาฏานาฏิยัง รักขัง
ภิกขูนัง ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา รักขายะ
อะวิหิงสายะ ผาสุวิหารายาติ ฯ อะธิวาเสสิ ภะคะวา ตุณหภาเวนะ ฯ
อะถะโข เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวะโต อะธิวาสะนัง
วิทิต๎วา ตายัง เวลายัง อิมัง อาฏานาฏิยัง รักขัง อะภาสิ
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะทะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูปะทัง
เยจาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
ยะโต อุคคัจฉะติ สุริโย อาทิจโจ มัณฑะลี มะหา
ยัสสะ จุคคัจฉะมานัสสะ สังวะรีปิ นิรุชฌะติ
ยัสสะ จุคคะเต สุริเย ทิวะโสติ ปะวุจจะติ

ระหะโทปิ ตัตถะ คัมภีโร สะมุทโท สะริโตทะโก
เอวันตัง ตัตถะ ชานันติ สะมุทโท สะริโตทะโก
อิโต สา ปุริมา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน
ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส
คันธัพพานัง อาธิปะติ ธะตะรัฏโฐติ นามะโส
ระมะตี นัจจะคีเตหิ คันธัพเพหิ ปุรักขะโต
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง
อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา
เต จาปิ พุทธัง ทิสวานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง
ทูระโตวะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง
นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ
กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ
สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส
ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ
เยนะ เปตา ปะวุจจันติ ปิสุณา ปิฏฐิมังสิกา
ปาณาติปาติโน ลุททา โจรา เนกะติกา ชะนา
อิโต สา ทักขิณา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน
ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ วิรุฬโห อิติ นามะโส
ระมะตี นัจจะคีเตหิ กุมภัณเฑหิ ปุรักขะโต
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง