หลวงปู่บุดดา ถาวโร |
ชาติกำเนิด – ภูมิลำเนา เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ท่านเคยชี้ตำบลเกิดของท่าน ขณะขึ้นรถไฟผ่าน อยู่เหนือสถานีโคกกระเทียมเล็กน้อย เป็นหมู่บ้านเล็ก ห่างจากทางรถไฟไปทางทิศตะวันตกราว ๒ กม. ท่านบอกว่า หมู่บ้านหนองเต่า คงเป็นชื่อหมู่บ้านเดิม บิดาของท่านชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาของท่านชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ยังเหลือน้องชายคนเล็กชื่อ เหลือ มงคลทอง นอกนั้นถึง แก่กรรมไปหมดแล้ว อุปสมบท ประวัติทั่ว ๆ ไป การเห็นภาพในอดีตนั้น ท่านเห็นได้หลายภพ ในกรณีหลวงปู่บุดดา อดีตชาติท่านเกิดเป็นชาย ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตัวหนังสือที่ใช้ เป็นตัวหนังสือแบบเดียว กับสมัยพ่อขุนรามคำแหง มิใช่ตัวหนังสือเดียวกับเมื่อหลวงปู่เป็นเด็ก ท่านจึงอ่านหนังสือไม่ออก แต่พอเป็นทหาร ท่านได้เรียนหนังสือ ท่านก็สามารถเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งที่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ในการรับราชการเป็นทหารเกณฑ์นั้นหนักมาก ทั้งนี้น่าจะเนื่องมากจากสาเหตุสองประการ ที่ทำให้สามารถรู้หนังสือได้ดี เพราะท่านรู้หลักของหนังสือเดิมดีอยู่แล้ว พอเทียบตัวถูกท่านก็อ่านได้ และสมาธิจิตของท่าน เข้าอันดับญาณ จึงสามารถทำอะไรได้ง่าย อดีตสัญญา ฉะนั้น เมื่อบิดาของท่านตีท่าน ในสมัยเด็ก ท่านเล่าว่า ท่านวิ่งออกไปนอกบ้าน แล้วตะโกนว่า “พ่อโกหก ๆ ๆๆ” ไม่ยอมหยุด จนมารดาของหลวงปู่เห็นผิดสังเกต จึงไปปลอบถามว่า “พ่อโกหกเรื่องอะไร” ท่านจึงได้เล่าเรื่องอดีตสัญญา ให้มารดาของท่านฟังว่า “พ่อไม่รักษาคำพูด” ผู้ใดสามารถเฉลยอดีตสัญญาแบบนี้ ให้เป็นธรรม และยอมรับกันได้ทั่วไปบ้าง ? เรื่องอายหมา อดีตชาติหนึ่งในหนหลัง เมื่อท่านเป็นหนุ่ม เกิดพอใจหญิงสาว ชาวบ้านใกล้เคียงกันผู้หนึ่ง จึงไปอู้สาวผู้นั้น แทนที่ฝ่ายหญิงจะพูดดี กับลำเลิกอดีตชาติว่า “หลวงปู่ที่เป็นชายหนุ่มในชาตินั้น เป็นผู้ทำให้เขาถูกทุบตี และถูกจับผูกทรมาน อดอาหารจนท้องกิ่วตาย พอมาชาตินี้มารักเขาทำไม” หลวงปู่ในชาตินั้น ก็มองเห็นอดีตตนเองได้ว่า ตอนนั้น ท่านเป็นสมภารเจ้าวัดอยู่ประเทศลาว ขณะนอนป่วยอยู่ มีหมาตัวเมียขึ้นมาลักลอบอาหารที่เด็กเก็บไว้ ท่านจึงร้องบอกเด็ก พวกเด็กจึงไล่ตีหมา และพวกเด็กไม่เพียงแต่ไล่ตี คงได้ไล่จับหมาตัวนั้น ไปผูกกับรั้ว และกว่าจะถูกจับได้ คงต้องไกลกว่าที่สมภารนอนเจ็บ ประการหนึ่ง และทุกคน ก็คงสนใจแต่ความป่วย และการตายของสมภาร ในเวลาต่อมาจึงลืมนึกถึงการจับหมาตัวนั้นไปผูกไว้ จนต้องอดถึงตายไป เมื่อชายหนุ่มระลึกอดีตชาติได้ ก็เกิดความสลดและละอายใจว่า “นี่เรากำลังจะเอาหมามาเป็นเมียแล้วหรือ ? ” และเป็นการประทับฝังอยู่ในจิตใจต่อมาทุกชาติ การป่วย และการตายในคราวนั้น หมาตายภายหลัง จึงจองเวร และติดตามถูก ส่วนการที่เด็กไปตีหมา ที่ถูกจับไว้จนหมาตาย ต้องมิใช่คำสั่งของสมภาร หมาจึงจองเวรได้เพียงหมาถูกตี เพราะเสียงร้องบอกของสมภารเป็นเหตุ หมาจึงทำให้สมภารในอดีตชาติ เดือดร้อนเพราะลำเลิกของหญิงนั้นตามอดีต เหตุที่สมภารได้ทำไว้เท่านั้น เรื่องความผูกพัน หรือการจองเวรในอดีตชาติทำนองนี้ หลวงปู่ปรารภเสมอว่า เมื่อนึกถึงเรื่องราวในอดีตแล้ว ท่านมีความรู้สึกเบื่อหน่าย ในการเวียนว่ายตายเกิดมาตั้งแต่เด็ก รับราชการทหาร ๒๔๕๘ ท.บ.๓ ล.๑๐ ในสมัยนั้น เรื่องการเป็นทหารเกณฑ์ของหลวงปู่นั้น ท่านถูกเกณฑ์ทุกปี และในปีที่มีการคัดเลือกทหารอาสา ไปราชการสงคราม ณ ทวีปยุโรปในสงครามครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลวงปู่ก็เคยเล่าว่า ท่านได้อาสาสมัครกับเขาเหมือนกัน แต่ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาจึงไม่รับท่าน เนื่องจากผู้บังคับบัญชาบอกท่านว่า ในทวีปยุโรปอากาศหนาวจัด ต้องดื่มเหล้า เพื่อช่วยให้คลายหนาว ท่านจึงไม่ได้ไปราชการสงคราม ณ ทวีปยุโรป พรรษาแรก ความมุ่งมั่นอดทนของพระใหม่ และในพรรษาที่หลวงปู่บวชนั้น ได้มีการสร้างศาลามุงสังกะสีขึ้น ซึ่งในการมุงหลังคาคราวนั้น มีเรื่องเล่าความมหัศจรรย์ทางอำนาจจิตของหลวงปู่ ตั้งแต่สมัยบวชเดือนแรกทีเดียว เพราะในการมุงหลังคา และตามปกติในฤดูร้อน แดดก็ร้อนจัดในตอนบ่ายอยู่แล้ว และเมื่อเครื่องมุงเป็นสังกะสีด้วย ก็ยิ่งทวีความร้อนมากยิ่งขึ้น พอตกตอนบ่าย ทั้งพระและชาวบ้านต่างทนความร้อนไม่ไหว ต้องลงมาพักกันหมด คงเหลือแต่หลวงปู่ ซึ่งเป็นพระบวชใหม่ยังไม่ครบเดือน มุงหลังคาอยู่ข้างบนองค์เดียวจนสำเร็จ เมื่อรับกฐินแล้วแต่พรรษาแรก หลวงปู่ท่านออกจาริก แสวงหาสถานที่วิเวกเจริญสมรธรรมตามอัธยาศัยองค์เดียว โดยไม่มีกลดมีมุ้ง แบบอุทิศชีวิต และเลือดเนื้อ เป็นทานอยู่นาน จนเลือดแดงฉานติดจีวร และบินไปไม่ไหว พรรษาที่ ๒ ธุดงค์เดี่ยว เหตุอัศจรรย์ผจญวัวป่า พบซากศพตนเองในอดีต พรรษาที่ 3 จาระพระไตรปิฎก ขณะที่ท่านพักอยู่ ณ วัดบ้านทุ่ง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คราวหนึ่ง ท่านต้องไปกิจนิมนต์ร่วมกับภิกษุหลายรูปด้วยกัน ไปทางเรือตามลำน้ำโขง ปรากฏว่าเรือเกิดจมลง พระรูปอื่นต่างว่ายน้ำหนีจากเรือหมด เหลือแต่ท่านองค์เดียวในเรือ และน้ำท่วมเกือบถึงคอแล้ว พอดีชาวบ้านเอาเรือไปรับนิมนต์ ท่านขึ้นเรือแล้วเรือก็จมหายไป พบบิดาในอดีตชาติ ถ้ำนี้มีคุณ ท่านได้อาศัยภายในถ้ำนี้ และแยกกันอยู่คนละฟาก ได้อาหารบิณฑบาตจากหมู่บ้านดังกล่าว ถ้ำภายในเขาภูคานี้ เป็นที่สงบและวิเวก ปากถ้ำเรียบเป็นดิน เชิงเขาลาดขึ้นพอบรรจบถึงเขา ก็เป็นปากถ้ำพอดี กว้างราว ๖-๗ เมตร สูง 3 เมตรเศษ เป็นดินราบขึ้นไปจนถึงยอด มีแท่นราบตรงกลางปล่อง ตรงกับยอดเขาพอดี ปล่องถ้ำเหมือนรูปงอบใบใหญ่ สูงกว่าปากถ้ำเล็กน้อย ขอบล่างลาดลงโดยรอบเป็นช่อง และชอกมากบ้าง น้อยบ้าง สถานที่ท่านใช้พักผ่อนและจำวัด ปรากฏว่าตรงที่ท่านใช้ภาวนานั้น มีปล่องลมหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่จำวัดก็หลบเข้าไปในช่องไม่ถูกลมเลย ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ในถ้ำนี้ มีแคร่ร้างแสดงว่ามีบุคคลอื่นมาใช้สถานที่นี้ก่อนแล้ว สถานที่ท่านใช้เป็นที่เดินจงกรมในตอนบ่าย และพักผ่อนสนทนาธรรมกันตอนเย็นนั้น เป็นบริเวณสันเขาตอนใต้ เป็นทางลาดขึ้นปากถ้ำได้สะดวก ใช้ด้านตะวันออก เป็นที่ลาดเดินจงกรม มีต้นไม้และสันเขาช่วยกำบังแดดในตอนบ่าย ตะขาบเจ้ากรรม หลวงปู่บุดดาท่านเล่าว่า มันไต่ขึ้นภายในสบง ผ่านเอวแล้วผ่านหลังท่านขึ้นไป ท่านจึงต้องกลั้นลมหายใจ ปิดหู ปิดตา จมูก ปากหมด เจ้าตะขาบจึงเข้าไม่ได้ เมื่อหลวงพ่อสงฆ์ เอาไปปล่อย ปรากฏว่ามันกัดตัวเองจนขาดเป็นท่อน ๆ กองอยู่ที่ปล่อยนั่นเอง |
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
เรื่องที่เกี่ยวข้อง